🔊 อุปนายกสมาคมฯ ร่วมประชุมเชิงวิชาการ การจัดการคุณภาพอากาศภายในอาคารตลาดสด
 

🗓 เมื่อวันอังคารที่ 23 มีนาคม 2564 ที่ผ่านมา คุณทรงยศ ภารดี อุปนายกสมาคมวิศวกรรมปรับอากาศแห่งประเทศไทย เป็นผู้แทนสมาคมฯ เข้าร่วมประชุมเชิงปฏิบัติการเรื่องการพัฒนาแนวทางการจัดการคุณภาพอากาศภายในอาคารในสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรค โควิด-19 ตามคำเชิญจาก กรมอนามัย สำนักอนามัยสิ่งแวดล้อม
 
👉 โดยมีผู้แทนจากหน่วยงานต่างๆ เข้าร่วมประชุมในครั้งนี้ด้วย อาทิ: -
  1. นายสมชาย ตู้แก้ว ผู้อำนวยการ สำนักอนามัยสิ่งแวดล้อม
  2. นายชัยเลิศ กิ่งแก้วเจริญชัย นักวิชาการสาธารณสุขชำนาญการพิเศษ
  3. นายตวงสิทธิ์ วิมุกตายน นักวิชาการสาธารณสุขปฏิบัติการ
  4. คุณทรงยศ ภารดี อุปนายกสมาคมวิศวกรรมปรับอากาศแห่งประเทศไทย
  5. ผศ.ดร.ประพันธ์ พงษ์เกียรติกุล สมาคมส่งเสริมคุณภาพอากาศในอาคาร
  6. ผศ.ดร.ณัฏฐา ฐานีพานิชสกุล วิทยาลัยวิทยาศาสตร์สาธารณสุข จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
  7. บ. อินโนเวทีฟ อินสตรูเม้นต์ จำกัด
  8. นส. สิริวรรณ จันทนจุลกะ นักวิชาการสาธารณะสุขทรงคุณวุฒิ
 
1️⃣    วัตถุประสงค์การประชุม
• เพื่อแลกเปลี่ยนความรู้และข้อมูลเชิงวิชาการเกี่ยวกับการจัดการคุณภาพอากาศภายในอาคารตลาดสด
• เพื่อจัดทำแนวทางการจัดการคุณภาพอากาศภายในอาคารตลาดสด ทั้งที่มีในปัจจุบันและตลาดสดที่จะก่อสร้างใหม่
 
 
2️⃣    ประเด็นที่หารือ
• พบว่ามีการแพร่ระบาดของ โควิด-19 ในตลาดสดหลายหลายแห่ง
• เนื่องจากตลาดสดเป็นพื้นที่เปิดจะมีการระบายอากาศอย่างไร
• นอกจาก โควิด-19 แล้วสุขอนามัยในตลาดสดของประเทศไทยมักไม่ค่อยดี ทั้งในด้านของอากาศและน้ำเสีย
ทางกรมอนามัยอยากพัฒนามาตรฐานสุขอนามัยในตลาดสดให้ดีขึ้น
 

3️⃣    ข้อสรุปเบื้องต้นจากที่ประชุม
• เนื่องจากตลาดสดมีขนาดใหญ่ และเป็นพื้นที่เปิด การระบายอากาศ โดยวิธีกลเพื่อแก้ปัญหา โควิด-19 อาจทำได้ยากสิ้นเปลืองงบประมาณและค่าไฟ
• สำหรับการแก้ปัญหา โควิด-19 พิจารณาระบายอากาศโดยธรรมชาติ โดยมีพื้นที่เปิดขนาดที่เหมาะสม (ทางสมาคมส่งเสริมคุณภาพอากาศจะลองไปทำ Simulation ดู) ควบคู่กับการใช้ personal protection (mask) และ social distancing
• ในกรณีที่อาคารมีขนาดใหญ่มาก บริเวณกลางอาคารที่อากาศไม่เคลื่อนไหว อาจพิจารณาการระบายอากาศทางกลมาเสริม
 

4️⃣    แนวทางการปรับปรุงคุณภาพสุขอนามัย เรื่องคุณภาพอากาศในตลาดสด
• จัดโซนนิ่งที่เหมาะสม(ไม่ปะปนกันเหมือนปัจจุบัน) แยกพื้นที่ แต่ละประเภทให้ชัดเจน (อาหารสด, อาหารแห้ง, ผลไม้, ร้านที่มีครัวปรุงอาหาร เป็นต้น) เพื่อแยกการระบายอากาศ และน้ำเสียและดูทิศทางการไหลของอากาศและน้ำเสียได้ง่ายขึ้น
• ส่วนของครัวอาจต้องมีพัดลมระบายอากาศที่เหมาะสม
• อาจลองทำ Pilot project แล้วทำการตรวจวัดคุณภาพอากาศในตลาดสด

 

 

Project Image